Admin 26 ก.ย. 2561

แชมป์โลก "รีไซเคิลขยะ" ยังกระจุกในยุโรป โดยทำได้เกินกว่าร้อยละ 50

1-1

แม้ว่าประเทศต่างๆ จะพยายามโฆษณาชวนเชื่อว่าตนมีผลงานมากมายเกี่ยวกับกิจกรรมการรีไซเคิล เพื่อช่วยโลกลดขยะในทะเล รวมถึงลดภาวะโลกร้อน แต่การจะไปเชื่อว่าจริงหรือไม่ คงต้องมีการสอบทานและพิสูจน์จากหน่วยงาน หรือองค์กรที่เป็นกลางด้วย ไม่ใช่จากผู้ดำเนินการเองแต่เพียงฝ่ายเดียว

เมื่อไม่นานนี้ องค์กรที่เรียกว่า European Environmental Bureau หรือ EEB กับ EUROMIA ได้เปิดเผยรายงานที่ประเมินชื่อ Recycling - Who Really Leads the World? : Issue 2 เพื่อปรับปรุงข้อมูลผลการประเมินกิจกรรมการรีไซเคิลทั่วโลก เพื่อให้ข้อมูลที่เป็นกลางว่าประเทศใดกันแน่ในโลกนี้ที่เป็นแชมป์ของกิจกรรมการรีไซเคิลขยะของเสียจริงๆ

ผลการจัดอันดับประเทศต่างๆ ในโลก มาจากการนำตัวเลขของขยะที่มี มาคำนวณหาอัตราการทำกิจกรรมการรีไซเคิลของประเทศ Top 10 ด้วยฐานเดียวกัน เพื่อเปรียบเทียบกันได้อย่างเท่าเทียม

World Recycling Top 10 หรือ 10 ประเทศที่ติดอันดับสูงสุดของอัตราการทำกิจกรรมการรีไซเคิลขยะ โดยใน 5อันดับแรก คือ เยอรมนี ออสเตรีย เกาหลีใต้ เวลล์ และสวิตเซอร์แลนด์ ตามลำดับ ส่วนที่เหลือส่วนใหญ่เป็นกลุ่มประเทศในยุโรป เช่น เบลเยี่ยม สวีเดน สโลวีเนีย เนเธอร์แลนด์ ซึ่งมีเพียงเกาหลีใต้และสิงคโปร์ที่เป็นประเทศจากทวีปเอเชีย

1-2

สิ่งที่เปลี่ยนแปลงและพัฒนาขึ้นในการจัดอันดับแชมป์ของประเทศที่ทำกิจกรรมการรีไซเคิลขยะ ของ EUROMIA ครั้งนี้ คือเน้นการเจาะลึกกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการรีไซเคิลขยะ และนำงานวิจัยใหม่มาช่วยในการปรับค่าของสัดส่วนของกิจกรรมการรีไซเคิลขยะ ซึ่งมีผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนในผลการจัดอันดับด้วย และรายละเอียดที่เปลี่ยนไป คือ การใส่ใจกับการแยกขยะเชิงพาณิชย์ออกจากขยะจากการก่อสร้าง และคิดขยะระหว่างทางด้วย ไม่ใช่จุดปลายทางของผลผลิตสำเร็จรูปเท่านั้น และมีการปรับตัวเลขที่ไม่สอดคล้องกันบางรายการออกไป

1-3

ข้อที่น่าสังเกต

ประการแรก ประเทศที่มีสัดส่วนของกิจกรรมการรีไซเคิลขยะสูง คือ ประเทศที่เป็นสมาชิกของ OECD ยกเว้นประเทศสิงคโปร์และไต้หวัน ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของกลุ่มใดเลย แต่กลับมีอัตรากิจกรรมการรีไซเคิลขยะสูงกว่า 55% ขึ้นไป

ประการที่สอง การจัดอันดับที่เกิดขึ้นครั้งนี้ ยังถือว่าใหม่ เพราะยังไม่ได้มีการจัดอันดับต่อเนื่องมานานติดต่อกัน จึงอาจจะยังไม่น่าเชื่อถือ และอาจจะยังต้องมีการปรับปรุงวิธีการจัดเก็บข้อมูลและคำนวณให้แม่นยำและน่าเชื่อถือมากขึ้นในอนาคต เพราะคนทั่วไปยังสงสัยในการกระจุกตัวของประเทศที่ทำกิจกรรมการรีไซเคิลขยะในลำดับต้นๆ ว่าดูแปลกๆ อยู่เหมือนกัน

ประการที่สาม นอกเหนือจากสัดส่วนของกิจกรรมรีไซเคิลแล้ว องค์กร EUROMIA ยังมีการพัฒนาดัชนีที่เรียกว่า ?Recycling Carbon Index? มาก่อนหน้านี้ แสดงผลการจัดอันดับการประหยัดคาร์บอนไดออกไซค์ที่เกิดจากพฤติกรรมการบริหารจัดการขยะของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น และอัตราส่วนการบริการรีไซเคิลมาก่อนที่จะสร้างผลการจัดอันดับนี้ แต่เป็นระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยคิดเป็นน้ำหนักเป็นกิโลกรัมต่อคน และรวมจำนวนคนในพื้นที่ออกมาเป็นน้ำหนัก เป็นต้น

ที่มา:https://mgronline.com/greeninnovation/