Admin 6 พ.ค. 2560

เพิกถอนใบอนุญาตเรือซีเพิร์ล 3 แอบสอนดำน้ำ "Try dive"หมู่เกาะสิมิลัน

G0DL5oPyrtt5HBAi37Sdxzec70qdrVWksGCwC3gnctJ6DMu3AAAE2X

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน จ.พังงา ลงดาบ เพิกถอนใบอนุญาต"เรือซีเพิร์ล 3 "บริษัทสิมิลันโปรไดร์ จำกัด หลังเข้ามาแอบสอนดำน้ำแบบลากจูง หรือ"Try dive"ในหมู่เกาะสิมิลัน

วันที่ 5 พ.ค. 2560 นายรวมศิลป์ มานะจงประเสริฐ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันจ.พังงา กล่าวว่า หลังจากมีการแพร่คลิป Marine NP course ซึ่งตามภาพเรือคล้ายกับเรือซีเพิร์ล 3 ซึ่งเป็นเรือขออนุญาตนำเที่ยวและดำน้ำลึกในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน มีการกระทำผิด พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 แต่เนื่องจากพบว่ามีการนำนักท่องเที่ยวชาวจีนมาดำน้ำแบบลากจูงหรือ try dive ซึ่งก่อนหน้าเมื่อวันที่ 3 พ.ค.ที่ผ่านมาเคยมีการร้องเรียนมาที่อุทยานฯสิมิลันแล้ว และจากการลาดตระเวนมาถึงบริเวณเกาะเก้า (บางู) ตรวจพบเรือซีเพิร์ล 3 ซึ่ง จอดลอยลำและกำลังนำนักท่องเที่ยวลงดำน้ำลึกแบบเดิม

นายรวมศิลป์ บอกว่า คณะเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบพบนายมนัส ชายดำ เป็นคนขับเรือ ได้แจ้งแก่คณะเจ้าหน้าที่ว่าตนมีหน้าที่ขับเรือให้กับ บริษัท สิมิลันโปรไดร์ จำกัด และมีนายนิพัท กลัดนาค ซึ่งเป็น Dive Master ประจำเรือได้นำ โดยนักท่องเที่ยวชาวจีนที่ดำน้ำลึกจำนวน 6 คนไม่มีบัตรรับรองการดำน้ำลึก ซึ่งเข้าข่ายกระทำผิด พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 มาตรา 18 ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยสอนดำน้ำแบบ try dive จึงได้ทำการเปรียบเทียบปรับนายวันชัย และพวกตามมาตรา 25 จำนวนเงินคนละ 1,000 บาท รวมเป็นเงิน 8,000 บาท

ชี้มีระเบียบชัดห้ามกิจกรรม try dive

หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน บอกด้วยว่า ขณะนี้ยังได้ทำหนังสือไปที่กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เพื่อขอให้พิจารณาเพิกถอนใบอนุญาตเรือซีเพิร์ล 3 ของบริษัทสิมิลันโปรไดร์ จำกัด อีกด้วย เพราะฝ่าฝืนนำนักท่องเที่ยวมาทำกิจกรรมเรียนลองดำน้ำ ซึ่งห้ามประกอบกิจการในเขตอุทยานสิมิลัน เพราะจะกระทบและสร้างความเสียหายกับปะการัง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 22 พ.ย.2559 อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน เคยทำหนังสือขอใหกรมอุทยานแห่งชาติ ระงับการอนุญาตกิจกรรมการเรียนลองดำน้ำ พร้อมทั้งแจ้งให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยวในหมู่เกาะสิมิลันระงับกิจกรรม Discover Scuba diving และ Try dive Scubaในเขตหมู่เกาะสิมิลันไว้แล้ว เนื่องจากกิจกรรมดังกล่าวจะส่งผลเสียหายแตกหัก เพราะถูกนักท่องเที่ยวเหยียบย่ำ

TSNBg3wSBdng7ijM58wFUjYUbfRh0gKyYBK9Wd3Qiry

นักวิชาการ ระบุสร้างความเสียหายต่อปะการัง

นายศักดิ์อนันต์ ปลาทอง อาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ระบุว่ากิจกรรม Try dive มีความเสี่ยงต่อสภาพแวดล้อม เนื่องจากผู้ที่ไม่ได้เรียนดำน้ำ จะไม่สามารถควบคุมการลอยตัวได้ ทำให้เตะ เหยียบ นั่ง หรืออุปกรณ์ดำน้ำไปกระแทกปะการังให้เกิดความเสียหาย และยังอาจเป็นอ้นตรายต่อนักท่องเที่ยว เนื่องจากอุทยานแห่งชาติสิมิลันมีระดับน้ำที่ลึก และอยู่ห่างไกลจากฝั่งมาก หากเกิดอุบัติเหตุจะเป็นอันตรายถึงชีวิต

ในช่วงที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติสิมิลัน พยายามกวดขันมาตั้้งแต่ต้นฤดูกาล มีการจับปรับอยู่เป็นระยะ แต่ก็ยังคงมีการลักลอบทำกันอยู่เป็นประจำ เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่สร้างรายได้ดี เพียงแค่ให้นักท่องเที่ยวใส่อุปกรณ์ดำน้ำ และพาลงไป ก็สามารถคิดค่านำเที่ยวเพิ่มขึ้น ถึงครั้งละ 1,000 - 2,000 บาท โดยเชิญชวนให้ผู้ที่แจ้งเบาะแสพบเห็นการลักลอบทำกิจกรรม กับเจ้าหน้าที่

ส่วนเหตุการณ์นักท่องเที่ยวสาวมีปลาดาวบนศีรษะ ดร.ธรณ์ ธำรงค์นาวาสวัสดิ์ ได้โพสต์เฟชบุ๊กว่า เจ้าหน้าที่อุทยานหาดเจ้าไหม ตามจนเจอเจ้าของเรือ และจัดการตามกฎหมายเป็นที่เรียบ ร้อย นับเป็นตัวอย่างที่ชัดเจน ขอบคุณอุทยานและคนรักทะเลที่ช่วยกัน เราต้องพยายามจนกว่าเหตุการณ์รังแกสัตว์แบบนี้จะหมดจากทะเลไทย

TSNBg3wSBdng7ijM58wFUjYUbfRh0gM5YxStVrLHOze TSNBg3wSBdng7ijM58wFUjYUbfRh0gTkLA0QmKAtIjb

ที่มา : https://news.thaipbs.or.th/content/262225