Admin 16 เม.ย. 2560

นักวิจัยสำรวจ"พะยูน"พบมีจำนวนมากขึ้น กำหนดพื้นที่ไข่แดง ห้ามทำประมงทุกชนิด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างวันที่ 24-30 มี.ค.ที่ผ่านมา ทีมนักวิจัยกลุ่มสัตว์ทะเลหายากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง นำโดย นายก้องเกียรติ กิตติวัฒนาวงศ์ ผอ.ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน ง หรือทช. ร่วมกับนักบินชาวต่างชาติ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทค โนโลยีแห่งชาติ (สวทช. ) นำเครื่องบินเล็ก และอากาศยานไร้คนขับ หรือโดรน ใช้ในภารกิจการสำรวจพะยูน รอบเกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง ครอบคลุมพื้นที่รอบเกาะกว่า 30,000 ไร่ เขตอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง นับจากบริเวณหัวแหลมเกาะมุก เกาะตะลิบง ต.เกาะลิบง จ.ตรัง

640_6chbiiaeaeidk7gc5djc7

ขณะที่ นายก้องเกียรติ บอกว่า รอบเกาะลิบง  มีระบบนิเวศน์ที่เอื้อต่อการทำให้มีเจริญเติบโตของหญ้าทะเลครอบคลุมพื้นที่กว่า 25,000 ไร่ ส่งผลให้พะยูน มาหากินในบริเวณนี้ แต่ผลการสำรวจรอบนี้มีแนวโน้มที่ค่อนข้างดี โดยปัจจุบันพบว่า พะยูนเพิ่มขึ้นจาก 120 ตัว เมื่อ 10 ปีก่อน เป็๋น 169 ตัวในปีนี้ โดยพบพะยูนคู่แม่ลูกมากกว่า 10 คู่ โดยเฉพาะพะยูนแหล่งใหญ่ที่สุดของประเทศไทยมีที่พึ่งสุดท้ายอยู่ที่เกาะตะลิบง จังหวัดตรัง เขาบอกว่า  ขณะที่แนวทางการจัดการ อนุรักษ์พะยูนอย่างยั่งยืน หลายฝ่าย เห็นตรงกันว่า บริเวณใดที่มีหญ้าทะเลอุดมสมบูรณ์ ซึ่งมีพะยูน หากินอยู่เป็นจำนวนมาก หรือที่เรียกว่าพื้นที่ไข่แดง ต้องกำหนดให้เป็นพื้นที่ควบคุมพิเศษ หรือห้ามทำการประมงทุกชนิด

640_7bj6afha7a69h8c66eefb

ที่มา : http://www.nationtv.tv/main/content/social/378543167/