Admin 11 เม.ย. 2560

โรงบำบัดน้ำเสียใต้ดินแห่งแรกของไทย

bangkok

ศูนย์การศึกษาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบางซื่อ เป็นโรงบำบัดน้ำเสีย ใต้ดินแห่งแรกของไทย ที่ลำเลียงน้ำเสียเข้ามาบำบัด วันละ 120,000 ลูกบาศ์กเมตร

น้ำเสียที่ปล่อยมาจากบ้านเรือน ไหลลงสู่คลองต่างๆในกรุงเทพมหานคร จะถูกลำเลียงไปยังโรงบำบัดน้ำเสียขนาดใหญ่ 8 แห่ง และขนาดเล็ก 12 แห่ง สามารถบำบัดน้ำเสียได้ 1,112,000 ลูกบาศเมตรต่อวัน หรือร้อยละ 45 ครอบคลุมพื้นที่ 212 ตรางกิโลเมตร เช่น ที่ศูนย์การศึกษาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม บางซื่อ มีโรงบำบัดน้ำเสียใต้ดินแห่งแรกของประเทศไทย และแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ภายในชั้นใต้ดินของอาคารซึ่งอยู่ในพื้นที่สวนวชิรเบญจทัศ หรือสวนรถไฟ ติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสียระบบปิด ในพื้นที่ใต้ดิน 12 ไร่ ด้วยการวางท่อลอดใต้พื้นดินเชื่อมท่อระบายน้ำ จากพื้นที่บางซื่อ จตุจักร ดุสิต และพญาไท เพื่อลำเลียงน้ำเสียครอบคลุมพื้นที่ 20.7 ตารางกิโลเมตร เข้าสู่สถานีสูบน้ำเสียใต้ดินที่สามารถบำบัดน้ำได้วันละ 120,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน

โดยผ่านกระบวนการคัดกรองขยะกำจัดกลิ่น ปรับสภาพน้ำต่างๆทางชีวภาพ เพื่อกำจัดสารอินทรีย์ ไนโตรเจนและฟอสเฟส ซึ่งจะแยกตะกอนอินทรีย์ออกจากน้ำสู่ถังตกตะกอน ก่อนที่จะปรับคุณภาพน้ำให้สะอาด ระบบบำบัดน้ำเสียใต้ดิน ควบคุมการสั่งการระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด น้ำที่ผ่านการบำบัด จะถูกนำไปใช้ประโยชน์ เช่น ฟื้นฟูคลอง รดน้ำต้นไม้

ข้อมูลจากกสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร พบว่า น้ำในคลอง โดยเฉพาะกลางเมือง ต่ำกว่าเกนฑ์มาตราฐาน และมีค่าความสกปรกเกินมาตราฐาน ส่วนใหญ่ร้อยละ 75 เกิดจากบ้านเรือน ชุมชน ร้อยละไม่เกิน 20 เกิดจากสถานประกอบการ และร้อยละ 5 จากเกษตรกรรม

กรุงเทพมหานคร  มีแผนก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียรวมขนาดใหญ่ อีก 4 แห่ง ได้แก่ มีนบุรี ธนบุรี คลองเตย และหนองบอน สามารถบำบัดน้ำเสียได้วันละ 670, 000 ลูกบาศ์กเมตรต่อวัน ครอบคลุมพื้นที่ 177.24 ตารางกิโลเมตร ให้แล้วเสร็จภายในปี 2565 เพื่อรองรับปริมาณน้ำทิ้งที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกปี


ที่มา : http://www.tnnthailand.com/news_detail.php?id=134702&t=news_special