Admin 15 มี.ค. 2560

ปะการัง แลก ประตูสู่อันดามัน จะเลือกอะไร? พรุ่งนี้! ประชาพิจารณ์ท่าเรือปากบารา

โครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล กำลังจะเข้าสู่เวทีรับฟัง ความคิดเห็น ครั้งที่ 1 วันที่ 16 มีนาคม 2560 และมีการทำรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม หรือ EIA มาตั้งแต่ปี 2552 แต่มีบางอย่างที่หายไป

640_bbgbhfgg6g7gackdfi7k8

เครือข่ายประชาชนที่ติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล เคยทำหนังสือถึงเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ว่า EIA ที่ทำเสร็จแล้วนั้น พบว่าขัดแย้งกับข้อเท็จจริงในพื้นที่ โดยเฉพาะประเด็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่โครงการและใกล้เคียง, กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน, และมาตรการแก้ไขผลกระทบความเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรในบริเวณที่มีการก่อสร้างท่าเรือ จะต้องมีการขุดร่องน้ำเพื่อให้เรือเดินสมุทรสามารถเข้ามาได้ รวมทั้งจุดทิ้งตะกอน ซึ่งกินพื้นที่ตั้งแต่ ท่าเรือปากบารา เกาะเขาใหญ่ เกาะบุโหลน เลยไปจนถึงกองหินขาว เป็นสิ่งที่ ที่ปรึกษาสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายศักดิ์อนันต์ ปลาทอง ตั้งข้อสังเกตว่า มีหลายจุดที่รายงานฉบับนี้ทำพลาดไป

640_bfkhd6kaf6k8kjc87gjbb

ที่ผ่านมา จึงมีการออกมาเคลื่อนไหวเพื่อชี้ให้เห็นถึงรายละเอียดส่วนนี้อยู่เสมอ ทั้งการรวมกลุ่มของช่างภาพ และนักวิชาการเพื่อ นำภาพถ่ายใต้น้ำของกองหินขาวที่อยู่ในพื้นที่ผลกระทบจุดทิ้งตะกอนขึ้นมาให้สังคมได้รับรู้ เพื่อสะท้อนข้อมูลอีกด้านของโครงการพัฒนาขนาดใหญ่นี้นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านปะการัง พบปะการังอ่อน Nephthyigorgia sp.(เน็ปไทม์จอร์เจีย) ซึ่งเป็นปะการังอ่อนหายาก และมีรายงานเฉพาะที่กองหินขาวเท่านั้น

640_8bbdb9k6655kbaa5ijjb9

สำหรับ EIA ท่าเรือน้ำลึกปากบารา ระบุขอบเขตการศึกษา เฉพาะในพื้นที่ขออนุญาตเพิกถอนจากอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา จำนวน 4,734 ไร่ ที่ต้องถูกถอนสภาพออกจากการเป็น เขตอุทยาน แบ่งเป็น ท่าเทียบเรือ ระยะที่ 1 จำนวน 473 ไร่ ท่าเทียบเรือ ระยะที่ 2-3 จำนวน 1,194 ไร่ ร่องน้ำเดินเรือและแอ่งกลับเรือ 2,224 ไร่ เขื่อนกั้นคลื่น 412 ไร่ สะพานรถยนต์และรถไฟ 431 ไร่ท่าเรือน้ำลึกปากบารา ถือเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนา Southern Seaboard หรือการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมขนาดยักษ์ โดยมีท่าเทียบเรือเป็นหัวหอก คาดการณ์ว่า หากการดำเนินงานทุกด้าน ทั้ง EIA และเวทีรับฟังความเห็น ทั้ง 3 ครั้ง จะแล้วเสร็จในปี 2560 และเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2561 โดยใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี และจะเปิดให้บริการในปี 2565

640_ej6eegabfk78a8785ih9a

"จะเป็นประตูทางภาคใต้สู่ทะเลอันดามัน เน้นขนส่งสินค้าไปยังประเทศอินเดีย ประเทศแถบยุโรป และแถบตะวันออกกลาง รวมทั้งเออีซี ซึ่งจะร่นระยะทางจากเดิมถึงกว่า 2,000 กิโลเมตรจากไทย โดยท่าเรือน้ำลึกปากบาราสามารถผ่านเข้าอินเดียไปยุโรป ตะวันออกกลาง โดยไม่ต้องอ้อมผ่านช่องแคบมะละกา ประเทศสิงคโปร์ โครงการนี้ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูง 12%" คือข้อดีที่กรมเจ้าท่าระบุปัจจุบันมีปริมาณสินค้าในพื้นที่ภาคใต้มีกว่า 8 แสนตู้ต่อปี ที่ต้องขนส่งโดยรถยนต์และรถไฟ เพื่อไปใช้ท่าเรือปีนังของมาเลเซีย ซึ่งเป็นประตูในการส่งออกสู่ทะเล ดังนั้นการเกิดขึ้นของท่าเรือน้ำลึกปากบาราจึงเป็นการช่วงชิงโอกาสให้แก่ภาคขนส่งในประเทศ เพราะจะลดต้นทุนด้านการขนส่งให้ผู้ส่งออก เนื่องจากระยะทางสั้นกว่าประมาณ 100-200 กิโลเมตร ต่างไปจากการไปใช้ท่าเรือปีนังที่มีระยะทาง 300-400 กิโลเมตร

640_c67kccj7afdifk5gajbfe

ที่มา : http://www.nationtv.tv/main/content/social/378538795/