Admin 29 ก.ค. 2564

ทะเลสาบในอาร์เจนตินาเปลี่ยนเป็นสีชมพู

มันไม่มช่ปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ แต่ผลมาจากความมักง่ายของมนุษย์ แม้จะสวยงาม แต่ก็เป็นความน่าเศร้าใจในด้านสิ่งแวดล้อม

2

(ภาพโดย DANIEL FELDMAN / AFP)

ภาพถ่ายทางอากาศเผยให้เห็นสภาพของของทะเลสาบที่เปลี่ยนเป็นสีชมพูเนื่องจากสารเคมีที่ใช้ช่วยในการแช่กุ้งให้สดที่ปล่อยมาจากโรงงานประมงใกล้เมืองเตรลิว (Trelew) ในจังหวัดชูบุต (Chubut) ในพื้นที่ปาตาโกเนีย (Patagonian) ของประเทศอาร์เจนตินา เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

เฟเดริโก เรสเตรโป วิศวกรสิ่งแวดล้อมและนักไวรัสวิทยา ผู้เชี่ยวชาญชาวโคลอมเบียที่อาศัยและทำงานในอาร์เจนตินา กล่าวกับเอเอฟพีว่า  "การย้อมสีเกิดจากสารกันบูดที่เรียกว่า โซเดียม ซัลไฟต์ (sodium sulphite) เป็นสารต้านแบคทีเรียที่ปนเปื้อนในน้ำในแม่น้ำชูบุตและเมืองต่างๆ ในภูมิภาค (ทั้งๆ ที่) กฎหมายมีคำสั่งให้บำบัดของเหลวดังกล่าวก่อนที่จะถูกทิ้ง”

ทั้งนี้ ปรากฏการณ์ทะเลสาบสีชมพู (Pink Lake) เกิดขึ่้นในบางพื้นที่ของโลกเช่นกัน แต่เป็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ เช่ย ทะเลสาบสีชมพูที่รัฐวิกทอเรีย ประเทศออสเตรเลีย ที่แต่ก่อนเชื่อว่าสาหร่ายสีแดงนั้นสร้างสีชมพู อย่างไรก็ตาม งานวิจัยล่าสุดที่รายงานโดย Australian Geographic ระบุว่าสีชมพูเป็นผลมาจากเม็ดสีที่ผลิตโดยแบคทีเรีย Salinibacter ruber

นอกจากนี้ยังมี ทะเลสาบฮิลเลียร์  ตั้งอยู่บนเกาะมิดเดิล (Middle Island) นอกชายฝั่งทางตอนใต้ของออสเตรเลียตะวันตก ลักษณะที่เด่นที่สุดของทะเลสาบแห่งนี้คือมีสีชมพู เป็นสีที่คงอยู่ถาวร และไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อนำน้ำทะเลสาบใส่ในภาชนะ ที่มาของสีชมพูนี้กล่าวกันว่ามาจากสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า Dunaliella salina

ที่มา: โพสต์ทูเดย์