Admin 10 ก.พ. 2560

ตะลึง! น้ำทะเลหาดป่าตองเปลี่ยนสี นักวิชาการระบุเกิดจากแพลงก์ตอน บลูม

น้ำทะเลหน้าหาดป่าตอง จ.ภูเก็ต เปลี่ยนสี นักท่องเที่ยวยังลงเล่น ขณะที่เจ้าหน้าที่สำนักสิ่งแวดล้อมที่ 15 ลงพื้นที่ตรวจสอบ เบื้องต้น ระบุเกิดจากแพลงก์ตอน บลูม

560000001466401

วันที่ 9 ก.พ. 2560 บริเวณชายหาดป่าตอง อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต ซึ่งมีนักท่องเที่ยวนอนเล่น อาบแดด และลงเล่นน้ำจำนวนมาก แต่จากการสังเกตพบว่า น้ำทะเลบริเวณชายหาดป่อง โดยเฉพาะบริเวณที่อยู่ใกล้กับชายหาดพบว่ามีสีออกไปทางดำ โดยกระจายไปในบริเวณกว้าง และน้ำแบ่งเป็น 2 สีอย่างชัดเจนเกือบตลอดแนวชายหาด

560000001466402

อย่างไรก็ตาม จากการสอบถามผู้ประกอบการบริเวณชายหาด ทราบว่า น้ำทะเลเปลี่ยนสีเริ่มเกิดขึ้นมาประมาณ 1 อาทิตย์ แต่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ยังลงเล่นน้ำตามปกติ ส่วนสาเหตุของน้ำเปลี่ยนสีเกิดจากอะไรไม่ทราบ แต่เหตุการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีจะเกิดขึ้นบ่อยในช่วงแดดจัด ซึ่งเมื่อเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา ก็เคยเกิดปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีมาแล้ว โดยครั้งนั้นทางเจ้าหน้าที่ระบุว่า เกิดจากแพลงก์ตอน บลูม

560000001466403

อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบพบว่า วันนี้เจ้าหน้าที่จากสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ 15 พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จากสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน จ.ภูเก็ต ได้ลงพื้นที่เก็บตัวอย่างน้ำไปตรวจสอบเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้น้ำทะเลบริเวณชายหาดป่าตอง โดย นายณัฐกฤษณ์ พลเพชร นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการพิเศษ

560000001466404

สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.ภูเก็ต กล่าวภายหลังลงพื้นที่ตรวจสอบน้ำทะเลที่หาดป่าตอง ว่า จากการตรวจตรวจในเบื้องต้นคาดว่าสาเหตุที่ทำให้น้ำทะเลเปลี่ยนสีเกิดจากแพลงก์ตอน บลูม เนื่องจากอาหารที่ร้อนจัด น้ำที่ไหลลงทะเลมีปริมาณสารอาหารจำนวนมาก และเป็นสารอาหารที่เหมาะสมต่อแพลงก์ตอน จึงทำให้แพลงก์ตอนโตเร็ว หรือที่เรียกว่าแพลงก์ตอน บลูม แต่อย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์แพลงก์ตอน บลูม จะมีอายุอยู่ประมาณ 2 สัปดาห์ แต่ก็ขึ้นกับสารอาหารที่ไหลลงไปในทะเลว่ามีปริมาณมากน้อยแค่ไหน

560000001466405

อย่างไรก็ตาม น้ำที่นำสารอาหารไหลลงทะเลนั้นไม่ใช้น้ำเสีย แต่เป็นน้ำจากครัวเรือน สถานประกอบการที่ผ่านการบำบัดแล้ว แต่ตัวสารอาหารยังมีจึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้แพลงก์ตอนโตเร็วขึ้น จนระบบในธรรมชาติไม่สามารถควบคุมกันเองได้ ส่วนตัวแพลงก์ตอนจะมีพิษหรือไม่ก็ต้องรอผลการตรวจวิเคราะห์จากหน่วยงานที่เก็บตัวอย่างไปตรวจสอบ ซึ่งคาดว่าเร็วๆ นี้ จะได้ผลกลับมา แต่อย่างไรก็ตาม จากการเก็บตัวอย่างไปตรวจเมื่อเดทอน เม.ย.ที่ผ่านมาพบว่าเป็นชนิดที่ไม่มีพิษ ซึ่งในครั้งนี้ก็คาดว่าน่าจะเป็นชนิดเดียวกัน

560000001466406

ที่มา : http://www.manager.co.th/South/ViewNews.aspx?NewsID=9600000014056