Admin 9 ก.พ. 2560

"ถุงพลาสติก"แชมป์ขยะท้องทะเลไทย

G0DL5oPyrtt5HBAi37Trx2mtlGy0tyCTNhElO8D3bqx6HVtfjRHH9J

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) สรุปผลการสำรวจขยะในท้องทะเลอ่าวไทยปี 2557-2558 พบถุงพลาสติกมากที่สุด รองลงมาเป็นหลอด ส่วนปากแม่น้ำ 5 สายที่เผชิญวิกฤติขยะหนักสุดปากแม่น้ำเจ้าพระยา 14,781 ชิ้นต่อชั่วโมง

วันที่ 9 ก.พ. 2560 พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวถึงกรณีพบแพขยะนอกเขตชายฝั่งทะเลจังหวัดชุมพร ว่า ให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง(ทช.) ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสอบร่วมกับหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องหาพิกัดของขยะที่ลอยในท้องทะเลกลุ่มดังกล่าว ควบคู่กับ การใช้ภาพถ่ายดาวเทียมของ GISTDA

เบื้องต้นจากการติดตามขยะลอยมาใกล้กับเกาะทะลุ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ห่างจากชายฝั่งประมาณ 7 กิโลเมตร ความยาวขยะประมาณ 1 กิโลเมตร ซึ่งเริ่มเคลื่อนตัวเข้ามาใกล้กับแนวปะการังสมบูรณ์มากขึ้น จึงให้ ทช. และสมาคมประมง ใช้อวนลากไปเก็บขยะวางแผนกำจัดอีกครั้งให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม

TSNBg3wSBdng7ijM58zhszcs52lk7VTkSlMTf65z7pO

ขณะที่ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง(ทช.) เปิดเผยผลการศึกษาขยะบริเวณปากแม่น้ำในปี 2558 เพื่อศึกษาผลกระทบต่อสัตว์ทะเลหายาก ผลกระทบต่อการท่องเที่ยว และผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย ทำให้พบปากแม่น้ำ “เจ้าพระยา”ขยะทะเลมากสุด

ขณะที่ยังมีการติดตามจำนวนขยะทะเลที่ลอยยน้ำ เป็นรายชิ้นที่ผ่านปากแม่น้ำ 5 สาย ในแต่ละชั่วโมง พบว่า แม่น้ำบางตะบูน ความกว้างของปากแม่น้ำ 250 กิโลเมตร ปริมาณขยะ 153 ชิ้นต่อชั่วโมง หรือ 1 กิโลกรัมต่อชั่วโมง

แม่น้ำแม่กลอง ความกว้างของปากแม่น้ำ 570 กิโลเมตร ปริมาณขยะ 4,085 ชิ้นต่อชั่วโมง หรือ 68 กิโลกรัมต่อชั่วโมง

แม่น้ำท่าจีน ความกว้างของปากแม่น้ำ 530 กิโลเมตร ปริมาณขยะ 11,218 ชิ้นต่อชั่วโมง หรือ 405 กิโลกรัมต่อชั่วโมง

แม่น้ำเจ้าพระยา ความกว้างของปากแม่น้ำ 850 กิโลเมตร ปริมาณขยะ 14,781 ชิ้นต่อชั่วโมง หรือ 118 กิโลกรัมต่อชั่วโมง

แม่น้ำบางปะกง ความกว้างของปากแม่น้ำ 960 กิโลเมตร ปริมาณขยะ 693 ชิ้นต่อชั่วโมง หรือ 7กิโลกรัมต่อชั่วโมง

TSNBg3wSBdng7ijM58zhszcs52lk7VU3WY5wtxqzjoe

"ถุงพลาสติก"แชมป์ขยะท้องทะเลไทย

และหากจำแนกปริมาณขยะในท้องทะเล เป็นรายประเภทในปี 2558 พบว่าอันดับที่ 1 ถุงพลาสติก 15,850 ชิ้น อันดับที่ 2 หลอด,ที่คนเครื่องดื่ม 5,252 ชิ้น อันดับที่ 3 ฝา,จุก 4,419 ชิ้น อันดับ 4 เชือก 3,752 ชิ้น อันดับที่ 5 บุหรี่/ก้นกรองบุหรี่ 3,122 ชิ้น อันดับที่ 6 ถ้วยโฟม,กล่องโฟม 2,873 ชิ้น อันดับที่ 7 ขวดเครื่องดื่มแก้ว 2,065 ชิ้น อันดับที่ 7 ขวดเครื่องดื่มแก้ว 2,065 ชิ้น อันดับที่ 8 ขวดเครื่องดื่ม (พลาสติก) 2,043 ชิ้น อันดับที่ 8 อื่นๆ 1,673 ชิ้น และอันดับที่ 10 ถ้วย จาน ช้อน ส้อม มีด 1,334 ชิ้น

ที่มา : https://news.thaipbs.or.th/content/260105