Admin 19 ก.ย. 2563

ทิชชู่เปียก-แผ่นอนามัย (ทิ้งลงชักโครกได้) อีกตัวการ! ล้างพลาสติกออกสู่ทะเลและชายฝั่งมากขึ้น

นักวิจัยจาก Earth and Ocean Sciences and the Ryan Institute เผยการสำรวจตะกอนบริเวณชาดหาดใกล้กับโรงงานบำบัดน้ำเสีย พบเส้นใยไมโครพลาสติกจำนวนมาก ซึ่งไมโครพลาสติกเหล่านั้นเป็นส่วนประกอบของ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด “ทิชชู่เปียกและแผ่นอนามัย”

2

(จากซ้าย) Dr Liam Morrison, Ana Mendes, Ois?n? Briain ที่หาด Grattan ประเทศไอร์แลนด์

แม้ทิชชู่เปียกบางยี่ห้อจะระบุว่า Flushable หรือ ทิ้งลงชักโครกได้ แต่ไม่ได้หมายความว่ามันจะย่อยสลายได้ทั้งหมด เพียงแต่มันสามารถละลายไปกับน้ำโดยไม่อุดตันท่อน้ำทิ้งเท่านั้น หากส่วนที่เป็นเส้นใยไมโครพลาสติกยังคงอยู่ และไหลลงไปในทะเลในท้ายที่สุด

จากการทดสอบทิชชู่เปียกยี่ห้อต่างๆ ที่ระบุว่า flushable แต่ก็พบว่ามีถึง 50% ที่มีส่วนประกอบของพลาสติก นักวิจัยได้นำตะกอนดินเหล่านั้นมาตรวจ พบว่าตะกอนดิน 1 กิโลกรัม มีเส้นใยไมโครพลาสติกถึง 6,083 ชิ้น ปะปนอยู่กับดินและสาหร่ายจนอาจจะแยกไม่ออก นอกจากนี้ไมโครไฟเบอร์เหล่านั้นยังสามารถนำพาเชื้อโรค แบคทีเรีย ไวรัส ลงสู่ทะเลได้อีกด้วย ซึ่งในช่วงการแพร่ระบาดของ Covid-19 มี่การใช้ทิ้งชู่เปียกและแผ่นอนามัยเพิ่มขึ้น เนื่องจากคนใช้เช็ดทำความสะอาดบ่อยครั้งกว่าช่วงปกติ.

3

ล้างเศษสิ่งปฏิกูลมารวมกันในทะเล ที่ชายหาดพบทั้งผ้าเช็ดทำความสะอาดเปียกและแผ่นอนามัยผสมกับสาหร่ายทะเล

นักวิจัยกล่าวว่า เส้นใยไมโครพลาสติกเหล่านี้ เป็นเส้นใยพลาสติกที่ใช้ในผ้าที่ไม่ผ่านการถักทอ (non-woven) กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากให้ความสะดวกในการใช้ แต่กลับถูกประเมินผลอันตรายของมันน้อยเกินไปภายหลังจากที่ใช้แล้วทิ้ง "ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ทอเป็นแหล่งไมโครพลาสติกที่ถูกประเมินต่ำในสิ่งแวดล้อมทางทะเล"

ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์