Admin 17 มิ.ย. 2563

ชัยชนะด้านสิ่งแวดล้อมโลก ศาลตัดสินให้การปกป้องสิ่งแวดล้อมสำคัญกว่าผลประโยชน์ทางธุรกิจ

_111700826_92586209_3059147087487760_3246095759300362240_n

ลูกเรือบนเรือเอสเพอรันซาของกรีนพีซกางแบนเนอร์ปกป้องมหาสมุทรในประเด็นการทำเหมืองใต้ทะเล © Bárbara Sánchez Palomero / Greenpeace

ข่าวดีสำหรับชนพื้นเมืองในนิวซีแลนด์ "ชาวกีวี" ซึ่งคัดค้านการทำเหมืองใต้ทะเล (KASM) และกรีนพีซ เมื่อศาลอุทธรณ์นิวซีแลนด์ยืนยันคำตัดสินไม่ต่อใบอนุญาตให้บริษัททรานส์-ทัสมัน รีซอร์เซส (TTR) เพื่อทำเหมืองในทางตอนใต้ของอ่าวทารานากิไบรท์ นับเป็นชัยชนะอีกครั้งสำหรับคนรักมหาสมุทร

ศาลอุทธรณ์ยืนยันไม่ให้โครงการเหมืองใต้ทะเล ที่ต้องการจะขุดลอกพื้นที่ก้นทะเลเป็นบริเวณกว่า 66 ตารางกิโลเมตรเพื่อนำทรายทีมีแร่ธาตุเหล็กผสมขึ้นมา ซึ่งทรายเหล่านี้จะถูกนำไปสกัดและแปรรูปเป็นชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ โดยศาลมีความเห็นว่าโครงการดังกล่าวไม่ผ่านหลักการทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อมและข้อสนธิสัญญาไวทังกิ* ทำให้บริษัทจะไม่สามารถดำเนินโครงการได้อีกต่อไปได้

1

แมงกะพรุน ไฮโดรโซน เป็นสัตว์ชนิดที่พบได้ในทะเลลึก ภาพนี้ถูกถ่ายได้ในบริเวณทะเลอาร์กติก © Alexander Semenov

คำตัดสินในครั้งนี้เป็นเหมือนข้อความที่ประกาศว่า นิวซีแลนด์ไม่อนุญาตให้โครงการเหมืองใต้ทะเลเข้ามาปล้นทรัพยากรออกไปได้อีก ซินดี แบกซ์เตอร์ ประธานชุมชนชาวกีวีต่อต้านการทำเหมืองก้นทะเล ตั้งข้อสังเกตว่า ในอนาคตคงไม่มีนักลงทุนคนไหนสนใจมาลงทุนกับอุตสาหกรรมที่เห็นได้ชัดว่าจะต้องขาดทุน

การต่อสู่กันมายาวนานตลอด 3 ปีในชั้นศาล ฝ่ายคัดค้านไม่เคยยอมแพ้หรือถอนตัวออกจากกระบวนการทางกฎหมายเพื่อเน้นย้ำว่าการทำเหมืองใต้ทะเลจะต้องไม่เกิดขึ้น และแม้ว่านี่เป็นการอุทธรณ์ครั้งที่ 3 แล้วแต่กลุ่มทุนก็ยังคงแพ้คดีต่อกลุ่มคนท้องถิ่น ชุมชนรอบข้างและสิ่งแวดล้อม เธอกล่าว

นอกจากนี้ซินดีบอกอีกว่า ถึงเวลาที่เราต้องยอมรับแล้วว่า หากยังปล่อยให้มีการทำเหมืองใต้ทะเลต่อไปนั้น จะส่งผลกระทบอย่างใหญหลวงต่อทรัพยากรทางทะเล ถึงแม้ว่าเราจะยังไม่มีความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศในมหาสมุทรที่ครบถ้วนสมบูรณ์ เพราะมหาสมุทรนั้นมีความซับซ้อนค่อนข้างมาก แต่ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์แสดงให้เห็นว่าผลกระทบจากการทำเหมืองใต้ทะเลนั้นจะเป็นไปในทางลบมากกว่าด้านบวก

5 (1)

ฝูงโลมาในนิวซีแลนด์ © Jason Blair / Greenpeace

เจสสิกา เดสมอนด์ นักรณรงค์เพื่อมหาสมุทรของกรีนพีซ นิวซีแลนด์ กล่าวว่าเวลานี้ไม่ใช่เวลาที่ใครจะแสวงหาผลประโยชน์จากมหาสมุทร โครงการเหมืองใต้ทะเลนี้จะทำให้โลมาเฮคเตอร์ วาฬสีน้ำเงินและนกทะเลตกอยู่ในอันตราย รวมทั้งสร้างความเสี่ยงให้กับปะการังซึ่งเปรียบเสมือนบ้านของสัตว์ทะเลอีกหลากชนิด ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่เราไม่สามารถยอมรับได้

มหาสมุทรมีความสำคัญต่อมนุษยชาติ ตั้งแต่เป็นแหล่งอาหารเลี้ยงผู้คนไปจนถึงสร้างความก้าวหน้าในวิทยาศาสตร์และวงการการแพทย์ นี่เป็นช่วงเวลาที่เราจะช่วยกันปกป้องมหาสมุทรจากกิจกรรมที่เป็นภัยทั้งหลาย ในช่วงที่ผ่าน กลุ่มอุตสาหกรรมหลายบริษัทแสดงความสนใจในการลงทุนทำเหมืองใต้ทะเล ซึ่งการตัดสินคดีในวันนี้จะเป็นตัวอย่างให้กับชุมชนอื่นๆทั่วโลกที่กำลังต่อสู้กับโครงการเหมืองใต้ทะเล หรือโครงการขนาดใหญ่อื่นๆ ที่จะสร้างความเสียหายให้กับมหาสมุทรว่า ความหวังในการปกป้องมหาสมุทรและทรัพยากรยังคงมีอยู่เสมอ

ข้อสนธิสัญญาไวทังกิ เป็นเป็นเอกสารทางการที่ก่อตั้งประเทศนิวซีแลนด์ว่าเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ข้อตกลงนี้เกิดขึ้นระหว่างเผ่า Hapūและ Māoriและตัวแทนของเครือจักรภพ สนธิสัญญานี้ได้รับการตั้งชื่อตาม “ Waitangi” สถานที่ที่มีการลงนามครั้งแรกในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1840  เนื้อหาหลักของสนธิสัญญาฉบับนี้คือ ชาวเมารีจะให้สิทธิพิเศษแก่ชาวอังกฤษในการซื้อที่ดินที่พวกเขาต้องการจะขายและในทางกลับกันชาวเมารีจะได้รับสิทธิและกรรมสิทธิ์ในที่ดินการประมงป่าไม้และทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมดในนิวซีแลนด์

ที่มา: Greenpeace