Admin 18 พ.ค. 2563

"เกาะลิบง" ใช้บทเรียน "มาเรียม" วาง "เขตอภัยทาน" อนุรักษ์พะยูน

_111700826_92586209_3059147087487760_3246095759300362240_n

ภาพชาวบ้านจังหวัดกระบี่ให้การช่วยเหลือ มาเรียม พะยูนเคราะห์ร้ายพลัดหลงแม่เกยตื้น ก่อนนำไปปล่อยในทะเลตรัง กระทั่งสิ้นใจตายเพราะกินพลาสติก.

ยังจำกันได้ไหม...? ช่วงปลายเดือน เม.ย.62 ที่ผ่านมา

ปธน.บราซิลยันเตรียมคลายล็อกดาวน์โควิด แม้ยอดตายยังสูงจนโลงไม่พอ 'สมุย' เปิดเกาะ สนามบินกลับมาให้บริการ จัดเข้มจุดตรวจคัดกรอง "สาธิต" ตรวจเยี่ยมภูเก็ต พบเป็นศูนย์ 13 วันแล้ว พร้อมเปิดเกาะรับ นทท. ลูกพะยูนกำพร้าเพศเมียที่ชื่อว่า "น้องมาเรียม" วัย 7-8 เดือน พลัดหลงแม่เข้ามาเกยตื้นในพื้นที่ จ.กระบี่ ได้ครองใจผู้คนในโซเชียลเป็นอย่างมาก เพราะความน่ารักและเรื่องราวของความ สู้ชีวิต เพื่อความอยู่รอด เจ้าหน้าที่นำไปเลี้ยงในพื้นที่ธรรมชาติเขาบาตู หมู่เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง มีชาวบ้านในพื้นที่ช่วยกันอนุบาลให้สามารถเติบโตและมีชีวิตรอดในท้องทะเล จนเกิดเป็นเรื่องราวความผูกพันระหว่างมนุษย์และสัตว์ทะเลตัวหนึ่ง ส่งผลทำให้มีกำลังใจจากผู้คนส่งไปยัง ?มาเรียม? มากมาย มีการจัดโครงการเพื่อระดมทุนช่วยเหลือ มีการนำเสนอข่าวพัฒนาการของเจ้ามาเรียมอย่างต่อเนื่อง จนผู้คนในสังคมรับรู้แนวคิดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะทะเลไทย ผ่านการเฝ้ามองชีวิตของมาเรียมเป็นอย่างมาก

1

ป้ายที่ทำการเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง จ.ตรัง สังกัดกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

แต่ความหวังของมนุษย์กลับมลายหายไป เมื่อ "มาเรียม" ต้องจากโลกนี้ไปอย่างน่าเสียดาย สร้างความสะเทือนใจให้กับผู้คนเป็นอย่างมาก ผลชันสูตรของทีมสัตวแพทย์ ลงความเห็น "มาเรียม" จากเราไปด้วยอาการช็อกที่สำคัญพบเศษพลาสติกเล็กๆหลายชิ้นขวางลำไส้ จนอุดตันบางส่วนและอักเสบ ทำให้มีแก๊สสะสมเต็มทางเดินอาหาร แถมติดเชื้อในกระแสเลือด และปอดเป็นหนองด้วย

การตายของ "น้องมาเรียม" ทำให้ผู้คนตระหนักว่า มนุษย์จะต้องเลือกใช้ชีวิตในแบบที่ไม่รบกวนสัตว์และธรรมชาติมากขึ้น รวมไปถึงกระตุ้นให้ภาครัฐเอาจริงกับการออกกฎหมายด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อไม่ให้มีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีก มาถึงวันนี้...วันเวลาผ่านไปครบขวบปีเศษ เรื่องราวสะเทือนใจเกี่ยวกับ ?น้องมาเรียม? ยังไม่จากหาย ประกอบกับมีวิกฤติเชื้อไวรัสโควิด-19 ระบาดจนต้องปิดเกาะ ส่งผลทำให้ทะเลตรังอุดมสมบูรณ์ น้ำใสทะเลสวย

5 (1)

เจ้าหน้าที่กำหนดเขตอภัยทาน หลังข้อมูลมีประชากรพะยูน ไม่ต่ำกว่า 250 ตัว ธรรมชาติฟื้นฟูช่วงโควิด-19

เจ้าหน้าที่อุทยานฯพลิกวิกฤติเป็นโอกาส ถอดบทเรียน "น้องมาเรียม" จัดวางทุ่นไข่ปลายาว 1 กม.เนื้อที่กว่า 2,000 ไร่ บริเวณแหลมจุโหย ต.เกาะลิบง เป็นพื้นที่ที่มีแหล่งหญ้าทะเลใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อีกทั้งพบว่ามีฝูงพะยูนอาศัยมากที่สุดในประเทศด้วย จึงได้กำหนด "เขตอภัยทาน" เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ และที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำหายาก

"สิ่งที่คาดหวังคือ...อยากให้ตรงนี้เป็นเขตที่เหล่าสัตว์น้ำได้อยู่อย่างสงบจริงๆ ทางเจ้าหน้าที่ได้ทำความเข้าใจกับพี่น้องชาวเกาะลิบงเรียบร้อยแล้ว ส่วนใหญ่ก็เห็นด้วยที่ให้มีเขตอภัยทานขึ้น" เป็นคำกล่าวของ นายชัยพฤกษ์ วีระวงศ์ หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง ภายหลังนำเจ้าหน้าที่ร่วมกับตัวแทนประมงพื้นบ้าน และชาวบ้านเกาะลิบงร่วมกันวางทุ่นไข่ปลาบริเวณแหลมจุโหย หมู่ 1 ต.เกาะลิบง เป้าหมายเพื่อกำหนดพื้นที่คุ้มครองแหล่งหญ้าทะเล พะยูน รวมถึงเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์ทะเลหายาก ไม่ให้ได้รับผลกระทบจากการทำประมง การท่องเที่ยว และการขนส่งสินค้าทางทะเล พร้อมเดินหน้าบริหารจัดการคุ้มครองพื้นที่ให้เข้มข้นอย่างเป็นระบบและครอบคลุม เพื่อความยั่งยืนของทรัพยากรชายฝั่ง และสัตว์ทะเลหายากประเภทเต่าทะเล โลมา และพะยูน

5

นักท่องเที่ยวแห่ชมพะยูน บนยอดเขาโต๊ะเต๊ะ หมู่ 4 บ้านบาตูปูโต๊ะ ที่มองเห็นพะยูนว่ายน้ำเข้ามาหากินได้ชัดเจน.

"เป็นการร่วมมือกับพี่น้องชาวเกาะลิบง เจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กำหนดเป็นเขตอภัยทาน ห้ามล่าหรือทำการประมง ขณะเดียวกันยังเป็นแหล่งที่พะยูนอยู่กันเป็นกลุ่ม 20-30 ตัว จึงต้องสงวนที่ตรงนี้พิเศษ" นายชัยพฤกษ์ กล่าวย้ำ

นายชัยพฤกษ์ กล่าวด้วยว่า ก่อนหน้านี้มีการใช้โดรนบินสำรวจก็พบฝูงพะยูนประมาณ 10-20 ตัว กระจายตัวเป็นเดี่ยวและเป็นคู่บริเวณอ่าว ทุ่งจีน หน้าเขาบาตูปูเต๊ะ ตั้งแต่ต้นปีเจ้าหน้าที่พบเจอพะยูนคู่แม่ลูกทั้งหมด 15 คู่ เพิ่มมากกว่าปี 62 จะเห็นได้ว่าสถิติการเพิ่มประชากรของพะยูนมีมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะนี้จากข้อมูลมีประชากรพะยูนรวมแล้วไม่ต่ำกว่า 250 ตัว ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ทำให้ธรรมชาติสงบขึ้นมีเวลาพักฟื้นฟู

เพราะกิจกรรมของมนุษย์น้อยลงทำให้สัตว์ทะเลหายากต่างๆมีความสงบ ภัยคุกคามน้อยลง พะยูน เต่าทะเล ปลาโลมา ช่วงนี้จะเห็นบ่อยมากขึ้น ส่วนแหล่งหญ้าทะเลที่มีเนื้อที่ประมาณ 18,000 ไร่ ตอนนี้ทางเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบงได้วางทุ่นไข่ปลาไปแล้ว 40-50 ลูก ตั้งแต่บริเวณทุ่งจีน หาดมดตะนอย หน้าแหลมจุโหย รวมทั้งหมด 7,000 ไร่ เจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ร่วมกับพี่น้องชาวเกาะลิบง พลิกวิกฤติเป็นโอกาสได้อย่างเหมาะสมยิ่ง.

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์