Admin 21 เม.ย. 2563

โควิด-19 ทำให้ธรรมชาติฟื้นฟูฝูงฉลามหูดำกว่า 20 ตัวโผล่เล่นน้ำหน้าหาดเกาะตาชัย

โควิด-19 ทำให้ธรรมชาติฟื้นฟูจากการประการปิดเกาะห้ามนักท่องเที่ยวเข้าชม พบฝูงฉลามหูดำกว่า 20 ตัว โผล่เล่นน้ำหน้าหาดเกาะตาชัย อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน จังหวัดพังงา

_111700678_92460330_215684506366651_1391583817814245376_n

วันที่ 20 เม.ย.63 ขณะที่นายถนอมศักดิ์ แฝดสุระ เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ออกปฏิบัติหน้าที่ประจำวันในยามเช้าได้พบฝูงฉลามหูดำ เกือบ 20 ตัว ว่ายเล่นน้ำอยู่บริเวณหน้าหาดเกาะตาชัย ของอุทยานแห่งหมู่เกาะสิมิลัน จึงทำการบันทึกภาพไว้ สร้างความตื่นเต้นและดีใจให้กับผู้ที่พบเห็นเป็นอย่างมาก ตามที่นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ลงนามประกาศปิดการท่องเที่ยวในเขตอุทยานแห่งชาติและวนอุทยานทุกแห่ง เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป จนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งมีหลายบริษัททัวร์นำเที่ยวได้หยุดให้บริการมาตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม เป็นต้นไป

_111700826_92586209_3059147087487760_3246095759300362240_n

สำหรับปลาฉลามครีบดำ หรือ ปลาฉลามหูดำ (อังกฤษ: Blacktip reef shark; ชื่อวิทยาศาสตร์: Carcharhinus melanopterus) เป็นปลาฉลามชนิดหนึ่ง มีรูปร่างเพรียวยาว ปากกว้าง มีแถบดำที่ครีบหลัง ครีบไขมัน ครีบก้น และครีบหางตอนล่าง เป็นที่มาของชื่อ กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร มีนิสัยไม่ดุร้ายเมื่อเทียบกับปลาฉลามชนิดอื่น ๆ นิยมอยู่รวมเป็นฝูงบริเวณใกล้ชายฝั่ง และอาจเข้ามาในบริเวณน้ำกร่อย หรือปากแม่น้ำ โดยสามารถเข้ามาหากินใกล้ชายฝั่ง แม้กระทั่งในพื้นที่ ๆ มีน้ำสูงเพียง 1 ฟุต เป็นปลาหากินในเวลากลางคืน ในเวลากลางวันจะหลบซ่อนตัวพักผ่อนตามแนวปะการัง โดยจะหากินอยู่ในระดับน้ำความลึกไม่เกิน 100 เมตร ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 2 เมตร ตัวเมียตั้งท้องนาน 18 เดือน ออกลูกเป็นตัว ครั้งละ 2-4 ตัว เมื่อโตขึ้นมาแล้วสีดำตรงที่ครีบหลังจะหายไป คงเหลือไว้แต่ตรงครีบอกและครีบส่วนอื่น

ที่มา: แนวหน้า