Admin 15 เม.ย. 2563

หนอนทะเลลึกกับแบคทีเรียเก็บเกี่ยวมีเทน

5 (1)

สิ่งมีชีวิตทุกชนิดต้องการคาร์บอนใน บางรูปแบบเพื่อความอยู่รอด โดยดูดซับผ่านกระบวนการเผาผลาญ หนอนในทะเลลึกและแบคทีเรียก็เช่นกัน หลังจากนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย หรือแคลเทค (Caltech) และวิทยาลัยออกซิเดนทอล ในสหรัฐอเมริกาค้นพบว่าหนอนและแบคทีเรียที่ก้นทะเลจะให้ความกระจ่างใหม่เกี่ยวกับนิเวศวิทยาของสภาพแวดล้อมใต้ทะเลลึก

ทีมวิจัยเผยว่าแบคทีเรียที่อยู่ในตระกูลเมธิลโลคอคคัส แคปซูลาตัส (Methylococcaceae) ซึ่งถูกเรียกว่าจุลินทรีย์ที่บำบัดก๊าซมีเทน (methanotrophs) เนื่องจากพวกมันเก็บเกี่ยวคาร์บอนและพลังงานจากมีเทน ซึ่งเป็นโมเลกุลที่ประกอบด้วยคาร์บอนและไฮโดรเจน นักวิจัยพบหนอนขนาดยาวไม่กี่นิ้วจำนวนมากใกล้กับพื้นที่พบก๊าซมีเทนในทะเลลึก ตรงช่องระบายอากาศที่พื้นมหาสมุทรซึ่งมีของเหลวที่อุดมด้วยไฮโดรคาร์บอนไหลซึมออกมา หนอนเหล่านี้มีเชื่อมโยงกับการดูดซึมซับมานาน เดิมทีคิดว่าหนอนทำตัวเป็นตัวกรองการให้อาหารกับแบคทีเรีย แต่นักวิจัยกลับพบว่าหนอนได้ร่วมมือกับแบคทีเรียใช้พลังงานเคมีเพื่อเลี้ยงตัวเองในวิธีที่ไม่ได้คาดคิด

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะยังไม่รู้ชัดเจนว่าทำไมหนอนชอบช่องระบายอากาศ แต่ผลการวิจัยนี้ได้เปลี่ยนความเข้าใจเกี่ยวกับระบบนิเวศ และจะส่งผลต่อการศึกษาดูแลพื้นที่ใต้ทะเลลึก.

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์