Admin 22 ส.ค. 2562

"วราวุธ" รับลูกปรับโรดแมปจัดการขยะพลาสติกก่อนปี 65

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) พร้อมรับข้อเสนอปรับโรดแมปขยะ ซึ่งครม.เห็นชอบหวังลดใช้พลาสติกครั้งเดียวทิ้งให้เป็นศูนย์ แต่สถานการณ์ขยะพลาสติกที่ส่งผลกระทบรุนแรงขึ้นจึงพร้อมเร่งก่อนปี 2565

G0DL5oPyrtt5HBAi4oBkOoOfrPNP8ezvE4exZbIaJaaRIGqkvwRBke

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) พร้อมรับข้อเสนอปรับโรดแมปขยะ ซึ่งครม.เห็นชอบหวังลดใช้พลาสติกครั้งเดียวทิ้งให้เป็นศูนย์ แต่สถานการณ์ขยะพลาสติกที่ส่งผลกระทบรุนแรงขึ้นจึงพร้อมเร่งก่อนปี 2565

วันนี้ (21 ส.ค.2562) นายภาคภูมิ วิธานติรวัฒน์ ประธานสมัชชาเครือข่ายองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กล่าวว่า ปัญหาขยะพลาสติกที่เริ่มส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมในวงกว้าง จึงอาจไม่ทันต่อสถานการณ์หากรอแนวทางตามโรดแมปที่รัฐบาลให้ความสำคัญ ที่หวังจะลดใช้พลาสติกครั้งเดียวทิ้งให้เป็นศูนย์ภายในปี 2565 แต่สถานการณ์ขยะพลาสติกที่ส่งผลกระทบรุนแรงขึ้น ก็ทำให้มีข้อเสนอการปรับมาตรการตามโรดแมปให้เร็วขึ้น เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์

"ถ้าเทียบกับระดับของปัญหามาตรการที่มีตอนนี้ยังถือว่าเบาเกินไป และเห็นว่าไทยควรต้องก้าวเข้าสู่สังคมปลอดพลาสติก ทุกการท่องเที่ยว ทุกห้างสรรพสินค้า ทุกกิจจกรมที่ต้องเลิกใช้พลาสติกมากเกินจำเป็น "

เนื่องจากขยะพลาสติกเป็นสาเหตุการตายของมาเรียม และสัตว์ทะเลอีกหลายขนิด และแม้ว่ารัฐบาล ได้กำหนดแนวทางจัดการปัญหา ผ่าน โรดแมปจัดการขยะพลาสติก ปี 2561-2573 ซึ่ง ครม.เห็นชอบเมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2562 โดยเฉพาะการลดและเลิกใช้พลาสติก 4 ชนิด คือ ถุงพลาสติกหูหิ้ว กล่องโฟมบรรจุอาหาร แก้วพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว และหลอดพลาสติกภายในปี 2565

"วราวุธ"รับลูกขยับลดปัญหาพลาสติกก่อนปี 65 

สอดคล้องกับความเห็นของ นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยืนยันการจัดการขยะพลาสติก ขึ้นอยู่กับการรณรงค์ ปรับจิตสำนึกการลดใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรม จึงเตรียมพิจารณาปรับแนวทางตามโรดแมปจัดการขยะพลาสติก ที่กำหนดให้ลดการใช้เป็นศูนย์ในปี 2565 อาจไม่ไหวอาจต้องทำให้เร็วขึ้น

"การเสนอเพิ่มโทษผู้ทิ้งขยะอาจไม่ใช่การแก้ปัญหา จึงเห็นว่าควรพิจารณาให้รางวัล หรือสิ่งตอบแทนแก่ผู้เก็บขยะ จะช่วยให้เกิดการตื่นตัวในสังคมมากกว่า"

พร้อมยืนยันว่า ขณะนี้กำลังร่วมมือกับหลายหน่วยงาน และภาคเอกชน หามาตราการแก้ปัญหาขยะทะเล ด้วยการติดตาข่ายดักขยะบริเวณปากแม่น้ำ ก่อนลงสู่ทะเล แม้จะเป็นปลายเหตุ แต่ก็เป็นวิธีเฉพาะหน้าที่จะเร่งดำเนินการลดความเสี่ยงขยะทะเล พร้อมทั้งจะใช้โอกาสการเป็นประธานอาเซียนยกระดับปัญหานี้ให้ทุกประเทศเอาจริงเอาจังในมาตรการจัดการปัญหาขยะทะเลร่วมกัน

"จะร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหาวัสดุทดแทนที่มีคุณภาพและราคาถูก ไม่ส่งผลต่อชีวิตประจำวันและรายได้ของประชาชน จะทำให้การใช้พลาสติกใช้แล้วทิ้งลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วในอนาคต"

สำหรับแผนการยุติการใช้พลาสติก 4 ประเภทในปี 2565 คือ พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง หลอดพลาสติก แก้วถ้วยพลาสติก และภาชนะโฟม อาจมีการพิจารณาเดินหน้ายุติการใช้สิ่งเหล่านี้ให้เร็วขึ้นอาจจะต้องทำให้ได้ภายในปี 2563-2564 ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมจำเป็นในวิถีชีวิตประจำวันของประชาชนด้วย

ที่มา:Thai PBS