Admin 13 ส.ค. 2562

เร่งช่วยด่วน “มาเรียม” อาการทรุดหนัก ติดเชื้อในกระแสเลือด-ปอดอักเสบ

ทีมสัตวแพทย์ระดมช่วยเหลือ “น้องมาเรียม” เร่งด่วน อาการป่วยทรุดหนัก มีการติดเชื้อในกระแสเลือด และปอดอักเสบ ผนังท้องมีอาการบวมน้ำ เยื่อเมือกบริเวณในช่องปากพบแผลหลุมเปื่อย มีผลต่อความอยากกินอาหาร มีไข้ และอยู่ในสภาพขาดอาหารและน้ำ

1111111111

        วันที่ 11 ส.ค. 2562 ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, ดร.นันทริกา ซันซื่อ ผอ.ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ดร.ก้องเกียรติ กิตติวัฒนาวงศ์ ผอ.ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน (ภูเก็ต), นายไมตรี แสงอริยนันท์ ผอ.สำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 10 (ตรัง), นายประจวบ โมฆรัตน์ ผอ.ส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล สบทช. 10, นายชัยพฤกษ์ วีระวงศ์ หน.เขตห้ามล่าหมู่เกาะลิบง และผู้นำท้องที่ท้องถิ่น ต.เกาะลิบง ร่วมประชุมหารือ และนำคณะสัตวแพทย์มาทำการตรวจร่างกายลูกพะยูนน้อยเพศเมีย “น้องมาเรียม” และทำการประเมินอาการ สรุปได้ว่า มาเรียมมีภาวะป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด และอาการทรุดลง

111111111111111111111111

        จากรายงานสรุปประวัติอาการป่วยมาเรียม เมื่อวันที่ 8 ส.ค. น้องมาเรียมมีอาการซึม และไม่กินอาหาร โดยเฉพาะเวลากลางวันมีการหายใจผิดปกติ เปิดช่องจมูกค้างนาน 5 วินาที ลมหายใจมีกลิ่น ผายลมมีกลิ่นเหม็นมาก วันที่ 9 ส.ค. มีอาการตัวสั่น เกร็ง โก่งตัว ลอยบนผิวน้ำ ช่วงเวลา 20.00-06.00 น. ปฏิเสธการกินอาหาร วันที่ 10 ส.ค. อาการทรงตัว ในช่วงบ่ายเริ่มว่ายไปกินหญ้าได้บ้าง อาการล่าสุดวันนี้ 11 ส.ค. มีอาการซึมและอ่อนเพลียมากขึ้น อัตราหายใจ 3-4 ครั้ง มีการเปิดหายใจนานมาก สูงสุดถึง 30 วินาที อัตราการเต้นหัวใจ 140-150 ครั้งต่อนาที เสียงลมหายใจผิดปกติ มีอาการลอยตัวด้านซ้ายแสดงถึงการอักเสบของปอด ลมหายใจมีกลิ่นเหม็นมาก บริเวณผนังท้องมีอาการบวมน้ำ เยื่อเมือกบริเวณในช่องปากพบแผลหลุมเปื่อย 2-3 แห่ง บริเวณแพนหางพบรอยด่างขาว คล้ายการติดเชื้อไวรัส

000000000

ผลการวินิจฉัยของทีมสัตวแพทย์ในเบื้องต้น 1.มีการติดเชื้อในกระแสเลือดและปอดอักเสบ 2.แผลในช่องปากมีผลต่อความอยากกินอาหาร 3.มีไข้ 4.อยู่ในสภาพขาดอาหารและน้ำ สำหรับแนวทางการรักษา 1.ให้ยาปฏิชีวนะต่อเนื่องอย่างน้อย 2 อาทิตย์ 2.เจาะเลือดเพื่อตรวจ 3.เสริมวิตามินและสารน้ำเกลือ หากจำเป็นอาจให้ทางเส้นเลือด 4.ยาป้ายแผลในปาก โดยแนวทางการดำเนินการ 1.ต้องมีการเคลื่อนย้ายมาเรียมมารักษาในบ่อพยาบาล 2.หากมีอาการดีขึ้นและอาการปกติ จะปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ 3.หากมีอาการดีขึ้นแต่ต้องการติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด และต้องใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น ควรขนย้ายไปยังศูนย์ช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายากภูเก็ต

ขณะเดียวกัน รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ภายหลังการประชุมได้ทำรายงานชี้แจงอาการป่วยของน้องมาเรียมให้ผู้บังคับบัญชาและสาธารณะชนทราบ มีข้อสรุปร่วมกันให้ดำเนินการ ดังนี้

1.สัตวแพทย์ได้ให้ยาเพื่อทำการรักษาการติดเชื้อไปแล้ว เมื่อวันนี้ 11 ส.ค. และเมื่อมาเรียมมีร่างกายที่พร้อมก็จะทำการเคลื่อนย้ายไปรักษาอาการป่วยที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน (ภูเก็ต) โดยวิธีเร่งด่วน คือ เคลื่อนย้ายทางอากาศโดยเฮลิคอปเตอร์

2.ทางคณะรองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และทีมสัตวแพทย์ ได้เดินทางไปดูบ่ออนุบาลที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง เพื่อเป็นแผนรองรับการเคลื่อนย้าย หากเห็นว่ามีความเหมาะสมทำการรักษาพยาบาล

3.ในคืนนี้ 11 ส.ค. ทีมสัตวแพทย์มีความเห็นที่จะนำมาเรียมทำการรักษาในบ่ออนุบาลชั่วคราวที่ติดตั้งไว้ที่หน้าเขาบาตู เพื่อสะดวกในการรักษาพยาบาลมาเรียม

4.ทางคณะท่านรองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้ลงความเห็นให้เพิ่มทีมสัตวแพทย์เข้ามาปฏิบัติงานโดยด่วนในช่วง 1-3 วันนี้ ก่อนที่ทำการเคลื่อนย้ายมาเรียม และขณะนี้ได้ทีมสัตวแพทย์เพิ่มเติมแล้ว.

ที่มา:ไทยรัฐออนไลน์