Admin 8 ก.ค. 2562

สูญเสีย! "พะยูน" อายุ 70 ปีทะเลตรัง ตายตัวที่ 7

ข่าวร้าย! พะยูนตัวผู้ อายุ 70 ปีลอยตายกลางทะเล จ.ตรัง ตัวที่ 7 ของปีนี้ ส่วนจ.กระบี่ เจอซากโลมาหัวบาตร ถูกคลื่นซัดเข้าเกาะลันตา สัตวแพทย์ เร่งผ่าซากพิสูจน์สาเหตุตาย อธิบดี ทช.ยอมรับสูญเสียสัตว์ทะเลหายากขนาดใหญ่ทั้งวาฬบรูด้า วาฬหัวทุย เต่า โลมาตายเพิ่ม

620706_TPBS_01_zps6fadffjx

วันนี้ (5 ก.ค.2562) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เจ้าหน้าที่สำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชาย ฝั่งที่ 10 จ.ตรัง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) นำซากพะยูน ตัวผู้อายุประมาณ 70-80 ปี ความยาวเกือบ 3 เมตร รอบลำตัว 170 เซนติเมตร น้ำหนักกว่า 250 กิโลกรัม มาลงบันทึกประจำวันที่สถานีตำรวจภูธรสิเกา หลังรับแจ้งจากชาวประมงเจอพะยูน ลอยตายไม่ทราบสาเหตุบริเวณอ่าวสิเกา เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา คาดว่าตายมาแล้ว 4-5 วัน จากนั้นเจ้าหน้าที่นำซากพะยูน ส่งต่อให้ทีมสัตวแพทย์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอันดามัน จ.ภูเก็ต ผ่าพิสูจน์หาสาเหตุการตาย โดยปีนี้พบพะยูนตาย 7 ตัวแล้ว

TSNBg3wSBdng7ijM75XnZ0XBXihiMTlT5CXpRM1UXUV

ส่วนที่จ.กระบี่ นายสมบูรณ์ เต็มชื่น นายอำเภอเกาะลันตา พร้อมเจ้าหน้าที่ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล และเจ้าหน้าที่ประมง ตรวจสอบซากโลมาหัวบาตรเกยตื้นตาย ต.ศาลาด่าน อ.เกาะลันตา ขนาดความยาว 130 เซนติเมตร น้ำหนัก 20 กิโลกรัม คาดตายมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 วัน พบลำตัวมีรอยบาดแผล เจ้าหน้าที่ตัดชิ้นเนื้อส่งพิสูจน์หาสาเหตุการตาย เมื่อ 3 วันก่อน เพิ่งเจอซากวาฬหัวทุย และโลมาหัวบาตร ถูกคลื่นซัดลอยมาติดชายฝั่ง ซึ่งเป็นช่วงหน้ามรสุม แต่ไม่บ่อยนักที่จะเห็นสัตว์ทะเลทั้ง 2 ชนิดนี้ตายพร้อมกัน และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองด้วย

TSNBg3wSBdng7ijM75XnZ0XBXihiMTjghsfAHRbZQBi

เปิดสถิติสัตว์ทะเลหายากตายปี 61 สูงถึง 672 ตัว

นายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ยอมรับว่าช่วงนี้เกิดการเกยตื้นของสัตว์ทะเลบ่อยครั้ง ซึ่งภาพรวมขณะนี้มีสัตว์ทะเลหายากจำนวนมากตามที่ปรากฎในข่าวว่าพบในพื้นที่ต่างๆ ล่าสุดมีการเกยตื้นพบวาฬบรูด้า 3 ตัว วาฬหัวทุย 1 ตัว และพะยูน 3 ตัว ช่วยชีวิตได้ 2 ตัว คือ มาเรียม และยามีล อย่างไรก็ตาม ได้สั่งการให้นักวิชาการผ่าพิสูจน์ซากทั้งหมด ไม่พบถุงพลาสติกในท้องวาฬบรูด้าทั้ง 3 ตัว บ่งชี้ให้เห็นว่าสถานการณ์ขยะพลาสติกในท้องทะเลดีขึ้น ส่วนการผ่าซากวาฬหัวทุย จะพบพลาสติก 4 ชิ้น แต่ไม่ได้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตาย เพราะอาจเกิดจากการติดเชื้อ หรือการตายแบบเฉียบพลัน ทั้งนี้ ทช.มีแผนบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชน และจิตอาสา เพื่อให้ความช่วยเหลือ และดูแลกรณีสัตว์ทะเลเกยตื้น อย่างรวดเร็วและปลอดภัยที่สุด ขณะนี้ประชาชนให้ความสนใจและช่วยกันดูแล เมื่อพบสัตว์ทะเลเกยตื้นทั้งที่มีชีวิต หรือตายแล้ว จะรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ทันที เพื่อให้ความช่วยเหลือ "คนสงสัยว่าทำไมวาฬจมน้ำตายได้ เนื่องจากวาฬเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ต้องหายใจ หากช็อก อาจทำให้ตายทันที เป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวัง"

ข้อมูลจากทช.รายงานว่า ในปี 2561 มีสัตว์ทะเลหายากเกยตื้นตาย จำนวน 672 ตัว เทียบกับปี 2561 จำนวน 565 ตัว ส่วนปี 2559 จำนวน 446 ตัว ทั้งนี้หากแยกชนิดสัตว์ที่เกยตื้นตาย พบว่าพะยูน และโลมากว่า 90% จะตายแล้ว ส่วนเต่าทะเลเกยตื้นแต่ยังมีชีวิตมากกว่า 50% ส่วนสาเหตุมาจากเครื่องมือประมง ขยะ และป่วยตาย"สาเหตุการตายของสัตว์ทะเลส่วนใหญ่ เกิดจากเครื่องมือประมงพันรัดบริเวณอวัยวะต่าง ๆ ส่วนอีก 10% เกิดจากขยะพลาสติก ขณะที่การตายจากธรรมชาติถือว่ามีอัตราค่อนข้างสูง"

ที่มา:Thai PBS