Admin 12 มิ.ย. 2562

สบทช.10 ตรังจัดงาน'วันทะเลโลก' เชื่อมโยงดูแลพะยูน'มาเรียม'รณรงค์ปลูกหญ้าทะเล

1-1

11 มิ.ย.62 บริเวณหาดคลองสน หมู่ที่ 2 ต.บ่อหิน อ.สิเกา จ.ตรัง ส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล สบทช.10ตรัง จัดกิจกรรมวันทะเลโลก โดยมี นายไพบูลย์ โอมาก รองผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง นายไมตรี แสงอริยนันท์ ผอส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล สบทช.10 กรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง นายอาคม ยุทธนา ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดตรัง นางสาวนันทวัน ศิริโภคพัฒน์ ผอ.ททท.สำนักงานจังหวัดตรัง ข้าราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครือข่ายโรงเรียน นักเรียน นักศึกษา ชมรมประมงพื้นบ้าน ร่วมกิจกรรมด้วยการปล่อยเต่าทะเล 10 ตัว ลูกปลากะพงขาว 10,000 ตัว ลูกปูม้า 1,000,000 ตัว และกิจกรรมเก็บขยะชายหาด แนะวิธีการคัดแยกขยะอีกด้วย

นายไพบูลย์ กล่าว่า สืบเนื่องจากวันที่ 8 มิถุนายนของทุกปีถูกกำหนดให้เป็นวันทะเลโลก หรือ Word Ocean Day โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นจิตสำนึกให้คนทั้งโลกหันมาใส่ใจร่วมกันอนุรักษ์ท้องทะเล ซึ่งแนวคิดนี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ ปี พ.ศ.2535 ในการประชุมความร่วมมือของกลุ่มประชาคมโลกด้านสิ่งแวดล้อม หรือ The Earth Summit ที่เมืองริโอเดอจาเนโร ประเทศบราซิล จนกระทั่งในปี พ.ศ.2551 องค์การสหประชาชาติ จึงกำหนดให้วันที่ 8 มิถุนายนของทุกปี เป็นวันทะเลโลก โดยเริ่มต้นอย่างเป็นทางการในปี 2552 ซึ่งประเทศต่าง ๆ ทั่งโลกได้ร่วมมือกันจัดกิจกรรมในการดูแลรักษาทะเลและมหาสมุทรอย่างพร้อมเพรียงกัน

1-2

นายไพบูลย์ กล่าวอีกว่า การจัดกิจกรรมวันทะเลโลกมีหลายหน่วยงานที่เข้าร่วมในงานแสดงว่าประชาชนในพื้นที่จังหวัดตรัง ให้ความสำคัญ ในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เนื่องจากพื้นที่แหล่งทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เป็นพื้นที่ที่มีคุณค่ายิ่ง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และความมั่นคงของชาติ อดีตที่ผ่านมาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้ถูกทำลายไปเป็นจำนวนมาก เช่น การบุกรุกครอบครองที่ป่าชายเลน การใช้ประโยชน์เพื่อการท่องเที่ยว การจับสัตว์น้ำอย่างไร้ขีดจำกัด ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลง เช่น ขยะทะเล น้ำเน่าเสีย มลพิษ จากโรงงานอุตสาหกรรม ฯลฯ ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ได้ส่งผลกระทบต่อความสมดุลของระบบนิเวศชายฝั่งทะเล ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ส่งผลกระทบต่อประชาชน และประเทศชาติ ทั้งทางตรงและทางอ้อมเป็นอย่างมาก

"ความสำคัญ ในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เนื่องจากพื้นที่แหล่งทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เป็นพื้นที่ที่มีคุณค่ายิ่ง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และความมั่นคงของชาติ อดีตที่ผ่านมาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้ถูกทำลายไปเป็นจำนวนมาก เช่น การบุกรุกครอบครองที่ป่าชายเลน การใช้ประโยชน์เพื่อการท่องเที่ยว การจับสัตว์น้ำอย่างไร้ขีดจำกัด ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลง เช่น ขยะทะเล น้ำเน่าเสีย มลพิษ จากโรงงานอุตสาหกรรม ฯลฯ ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ได้ส่งผลกระทบต่อความสมดุลของระบบนิเวศชายฝั่งทะเล ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ส่งผลกระทบต่อประชาชน และประเทศชาติ ทั้งทางตรงและทางอ้อมเป็นอย่างมาก" นายไพบูลย์ กล่าว

ด้านนายไมตรี กล่าวว่า การจัดกิจกรรมวันทะเลโลกในครั้งนี้ ได้เชื่อมโยงกับดูแลพะยูนโดยเฉพาะเจ้าพะยูนน้อย มาเรียม มีการจัดการเรื่องหญ้าทะเล ชุมชนชายฝั่งนำความรู้ไปเพาะพันธุ์หญ้าทะเล จะนำไปฟื้นฟูหญ้าทะเลให้เพิ่มขึ้น เพื่อเป็นอาหารของพะยูนในทะเลตรัง ปัจจุบันก็เพิ่มจำนวนขึ้นจากปีที่แล้ว จาก 161 ตัวเพิ่มเป็น 185 ตัว ถือว่าพะยูนกว่า 70 เปอร์เซ็นของประเทศไทยอยู่ที่บริเวณเกาะลิบง จังหวัดตรัง โดยเฉพาะพะยูนน้อยมาเรียมทางศูนย์ฯได้จัดอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ไปร่วมดูแล เฝ้าดู โดยเฉพาะในช่วงน้ำใหญ่ ช่วงน้ำลงจะน้ำจะแห้งเยอะ เพราะฉะนั้นโอกาสที่ เจ้ามาเรียมจะเกยตื้นก็มีโอกาส ช่วงน้ำลงเราจะต้องไปดูแลเจ้ามาเรียม ไม่ให้เกยตื้น ส่วนระยะเวลาที่ที่จะต้องดูแล โดยธรรมชาติลูกพะยูนจะติดแม่อยู่ประมาณ 2-3 ปี

" ตอนนี้เจ้ามาเรียมอายุประมาณ 7 เดือน คงต้องใช้เวลาอีกพอสมควร กว่าที่เจ้ามาเรียมกินหญ้าทะเลเองได้ เพราะตอนนี้ให้นม ฝึกให้กินหญ้าทะเลอยู่ ส่วนนักท่องเที่ยวที่เข้าไปชมก็ได้กั้นเขตเพื่อให้เจ้ามาเรียมอยู่ไม่ให้เข้าไปรบกวนเยอะ เจ้ามาเรียมจะสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ในท้องทะเล ตอนนี้ปล่อยให้เจ้ามาเรียมได้ใช้ชีวิตอยู่อย่างอิสระ ซึ่งในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาพะยูนในทะเลตรังมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ ส่วนเจ้ามาเรียมก็เป็นกระแสตอบรับที่ดีมาก ซึ่งโดยปกติเมื่อนักท่องเที่ยวมาดูพะยูนไม่สามารถจะมาดูวันนี้แล้วจะได้ดูวันนี้เสมอไป คิดว่าเจ้ามาเรียมจะเป็นจุดขายให้กับจังหวัดตรังในอนาคต เพราะจะคุ้นเคยกับมนุษย์" นายไมตรี กล่าว

1-3

นายไมตรี กล่าวอีกว่า เราจะต้องมีการจัดการในการมาดูแลเจ้ามาเรียมให้ดีที่สุด ให้ได้รับความปลอดภัย หลังจากได้ใช้ชีวิตในท้องทะเลได้เป็นปกติแล้ว จะต้องมีเขตที่จะดูแลเจ้ามาเรียม โดยจะมีการวางทุ่น ป้องกันไม่ให้เรือเข้าไปเป็นอันตรายกับเจ้ามาเรียม ซึ่งแต่เดิมตรังมีเจ้าโทนที่มีความคุ้นเคยกับชาวประมงกับเจ้ามาเรียมที่มีผู้คนเข้าไปดูแลเยอะต้องระวังมีสัตวแพทย์มาดูแลอยู่อย่างใกล้ชิดตลอดเวลา ในช่วงนี้จนกว่าเจ้ามาเรียมจะแข็งแรงและสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติ

ที่มา:แนวหน้า