Admin 20 เม.ย. 2562

สภาวะคลื่นและกระแสน้ำในอ่าวไทย โดยใช้ข้อมูลเรดาร์ชายฝั่ง ประจำวันที่ 1 ม.ค. 2513

IMG_20190420_104338-1024x481

เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2562 นายภาคภูมิ วิธานติรวัฒน์ ผู้ประสานงาน มูลนิธิอันดามัน ให้สัมภาษณ์ว่า  ได้มีการประชุมเพื่อหารือถึงสถานการณ์พะยูนที่โรงเรียนบ้านบาตูปูเต๊ะ 64 หมู่ที่ 4 ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง ภายหลังจากที่มีข่าวว่าถูกคุกคามจากเรือที่พานักท่องเที่ยวไปชมพะยูน โดยมีผู้เข้าร่วมราว 80 คน อาทิ ผู้อำนวยการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง หัวหน้าอุทยานฯหาดเจ้าไหม ผู้แทนองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) กำนัน-ผู้ใหญ่บ้านลิง มูลนิธิอันดามันและตัวแทนชาวบ้านกลุ่มต่างๆ โดยเริ่มต้นการประชุมทุกคนเห็นว่าทิศทางการอนุรักษ์พะยูนเดินมาถูกทางแล้ว เนื่องจากในปัจจุบันพะยูนมีอัตราการตายลดลง และมีจำนวนพะยูนเพิ่มขึ้นจากเดิมในปี 2556 มีอยู่ราว 134 ตัวแต่ปัจจุบันสำรวจพบเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 180 ตัว

received_437063967043651-1

นายภาคภูมิกล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เช่น ความไม่มีระเบียบในการชมพะยูน ก็จำเป็นที่ต้องแก้ไขกันไป โดยที่ประชุมสรุปการแก้ปัญหานี้ไว้ดังนี้

1.การชมพะยูนควรขึ้นไปบนเขาบาตูปูเต๊ะ แต่เนื่องจากปัจจุบันทางเดินขึ้นและจุดชมพะยูนยังสร้างไม่สมบูรณ์ ดังนั้นทางเขตห้ามล่าและอบต.เกาะลิบง จะทำการออกแบบและทำเส้นทางขึ้นเขาเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ชมพะยูน ซึ่งการดูจากพื้นที่สูงแทบจะไม่รบกวนพะยูนเลย

2.จะมีการผูกทุ่นหรือทำเสาหลักไว้ที่อ่าวและให้เรือท่องเที่ยวจอดเรือและผูกทุ่นที่หลักเพื่อลอยเรือชมพะยูน โดยไม่ให้ติดเครื่องยนต์เรือเพื่อติดตามพยูน

3.การท่องเที่ยวพะยูนทั่วไป เขตห้ามล่าฯกำลังทำระเบียบ-ประกาศ ที่ใช้ในการท่องเที่ยวชมพะยูน โดยเรือนำเที่ยวต้องมาขึ้นทะเบียนและมีสัญญลักษณ์ระบุไว้ชัดเจนว่าเรือลำดังกล่าวได้ผ่านการอนุญาตแล้ว และต้องมีระเบียบเรื่องระยะห่างจากพะยูนอย่างน้อย 5 เมตร นอกจากนี้ห้ามดำน้ำตามพะยูนหรือเอากล้องดำน้ำติดตาม และต้องมีการอบรมทำความเข้าใจกับเรือท่องเที่ยวพะยูน ผู้ประสานงานมูลนิธิอันดามัน กล่าวว่า นอกจากนี้ที่ประชุมยังหารือถึงมาตรการเพิ่มเติม โดยจะมีการกำหนดกฏเกณฑ์ในเขตอนุรักษ์เพิ่มขึ้น เนื่องจากผลการสำรวจพบว่ามีพะยูนชุกชุมในบางพื้นที่โดยมีประชากรพะยูนหนาแน่น ดังนั้นจะมีการกำหนดเขตวางทุ่น ห้ามกิจกรรมประมง เช่น ห้ามเครื่องมือกว่า 10 ชนิดที่เป็นอันตราย โดยต้องทำเป็นประกาศของเขตห้ามล่าฯ นอกจากนี้ที่บริเวณทะเลด้านหน้าสำนักงานเขตห้ามล่าฯจะกำหนดพื้นที่หญ้าทะเล 20 ไร่ให้เป็นเขตอนุรักษ์ปลิงทะเล เพราะในปัจจุบันจำนวนปลิงได้ลดลงอย่างมากเพราะมีการจับกันมาก จึงต้องทำเขตอนุรักษ์ทดลองว่าจะเพิ่มขึ้นหรือไม่ เหมือนกับที่ครั้งหนึ่งหอยชักตีนได้หายไปจากเกาะมุก จนกระทั่งมีการกำหนดเขตห้ามจับในพื้นที่ 20 ไร่จึงทำให้จำนวนหอยชักตีนเพิ่มขึ้น

received_429268287829741-1024x768

ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีเต่าทะเลซึ่งถูกคุกคามเช่นเดียวกับพะยูน นายภาคภูมิกล่าวว่า ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวมีจำนวนเต่าตนุเพิ่มขึ้นกว่า 100 ตัว ซึ่งการอนุรักษ์เต่าเป็นไปในทิศทางเดียวกับการอนุรักษ์พะยูน เพราะทั้งสองชนิดอาศัยอยู่ในแหล่งเดียวกันและกินหญ้าทะเลเหมือนกัน และเครื่องมือประมงที่เป็นอันตรายกับพะยูนก็เป็นชนิดเดียวกันกับเต่า เมื่อถามถึงระยะเวลาในการจัดทำกฎระเบียน นายภาคภูมิกล่าวว่า ในที่ประชุมตกลงกันว่าภายใน 30 วันจะมีการจัดทำเรื่องเขตอนุรักษ์ให้แล้วเสร็จ ส่วนการขึ้นทะเบียนเรือนั้น อาจต้องทยอยดำเนินการเพราะใกล้พ้นฤดูการท่องเที่ยวแล้ว received_1053508688106137

ตอนนี้เราได้ทำเป็นข้อตกลง ตักเตือน ขอความร่วมมือกันไว้ก่อน ซึ่งในอดีตก็เคยมีการทำข้อตกลงในลักษณะนี้และร้อยละ 80-90 ต่างปฎิบัติตาม แต่ถ้ามีคนฝ่าฝืนก็อาจต้องใช้มาตรการทางกฎหมายของเขตห้ามล่าฯ แต่ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาเราทำร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ เรื่องมาตรการคุ้มครองทางทะเลจังหวัดตรัง เพราะในปัจจุบันแม้ท้องทะเลตรังจะมีการประกาศเขตพื้นที่ห้ามล่าและเขตอุทยานฯแต่เป็นเพียง 1 ใน 5 ของท้องทะเลตรัง ทำให้เกิดช่องว่างใหญ่ หากมีการประกาศกระทรวงฉบับนี้ก็จะครอบคลุมได้หมด จึงต้องจี้ถามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯว่าถึงไหนแล้วเพราะต้องเอาเข้าคณะรัฐมนตรี”นายภาคภูมิ กล่าว

ที่มา:สำนักข่าวชายขอบ